10 เกร็ดงานสร้างสุดน่าทึ่ง กว่าจะมาเป็น Disney's Christopher Robin
1. ตัวละครคริสโตเฟอร์ โรบินและวินนี่ เดอะ พูห์ ปรากฎตัวครั้งแรกในงานรวมบทกลอนที่เขียนโดย เอ.เอ. มิลน์ ที่ชื่อ "เวน วี เวอร์ เวรี่ ยัง" ในปี 1924 หนังสือเรื่องสั้น “วินนี่ เดอะ พูห์” ของมิลน์ ที่ตีพิมพ์ในปี 1926 ยังถือว่าเป็นหนังสือเด็กที่ได้รับความนิยมที่สุดตลอดกาล
2. ภาพวาดสีน้ำดั้งเดิมของ อี.เอช. เชปเพิร์ด ที่วาดจากหนังสือของ เอ.เอ. มิลน์ ถูกเก็บไว้ที่ห้องสมุดสาธารณะนิวยอร์ค
3. การถ่ายทำ "คริสโตเฟอร์ โรบิน" เกิดขึ้นที่ เชพเพอร์ตัน สตูดิโอส์ นอกเมืองลอนดอน และสถานที่ต่างๆทั่วสหราชอาณาจักร 17 สถานที่หลักในสหราชอาณาจักรถูกใช้ระหว่างการถ่ายทำ ไม่ว่าจะเป็นถนนหลายสายในลอนดอน และสหราชอาณาจักร รวมถึงแยกถนนเกรทสมิธตัดกับถนนเกรทสตรีท เทเพิลเลนส่วนในและส่วนกลาง สะพานแลมเบิร์ธ และ ฮาวน์สกิล เวียดักค์ ในเขตเดอร์แฮม
4. ป่าร้อยเอเคอร์จากหนังสือของ เอ.เอ. มิลน์ สถานที่สุดมหัศจรรย์ที่เหล่าเพื่อนสัตว์ของคริสโตเฟอร์ โรบิน อาศัยอยู่และที่ที่จินตนาการผลิบาน อิงมาจากป่าแอชดาวน์ หรือระบุให้ชัดก็คือพื้นที่ในป่า ที่รู้จักกันในชื่อ ป่าห้าร้อยเอเคอร์ ตั้งอยู่ในซัสเซ็กส์ ชนบทอันเขียวชอุ่ม ไปทางใต้ของกรุงลอนดอน 30 ไมล์ ซึ่งป่านี้ยังมีนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมเยือนเป็นพันๆคนทุกปี ทุกคนต่างอยากเดินอยู่ในบริเวณที่อยู่ในเรื่องราวของ วินนี่-เดอะ-พูห์ หลายฉากในหนังที่เกิดขึ้นในป่าร้อยเอเคอร์ถ่ายทำในป่าแอชดาวน์ ฉากอื่นๆถ่ายทำในวินเซอร์ เกรท พาร์ค ที่เป็นบ้านสำหรับปราสาทวินเซอร์ หนึ่งในที่พำนักอย่างเป็นทางการของพระราชินีอลิซาเบธ และเป็นที่ที่ประทับอยู่มากที่สุดอีกด้วย
5. การสร้าง "คริสโตเฟอร์ โรบิน" คำนึงถึงระบบนิเวศน์ใยแต่ละสถานที่ในป่า การใช้ยานภาหนะที่มีแรงกดจากยางต่ำเพื่อที่จะไม่ไปทำลายระบบรากของต้นไม้เก่าแก่หรือย่ำลงไปในกลุ่มเฟิร์นที่ถูกดูแลอยู่ และการตั้งเสาและเทปกั้นเพื่อนำทางทีมงานไปในทางที่จะเดินและห้ามเดิน
6. วินนี่ เดอะ พูห์ ทิกเกอร์ พิกเล็ต อียอร์ แคงก้า รู แรบบิท และอาวล์ ปรากฎตัวครั้งแรกในภาพยนตร์ไลฟ์แอ็คชั่น แบบตัวละคร 3 มิติใน "คริสโตเฟอร์ โรบิน"
7. ตากล้องภาพยนตร์ แมทธิแอส เคอร์นิคสไวเซอร์ เลือกที่จะถ่ายหนังเรื่องนี้ด้วยกล้องมือถือแบบดั้งเดิมเพื่อช่วยให้การขยับตัวของเหล่าตุ๊กตาสัตว์ดูน่าเชื่อขึ้น แล้วพวกมันก็จะถูกทำให้มีชีวิตด้วยคอมพิวเตอร์แอนิเมชั่นเป็นภาพเหมือนจริงในขั้นตอนหลังการถ่ายทำ ที่จะพาตัวละครเหล่านี้เข้าไปอยู่ในกรุงลอนดอนยุคกลางศตวรรษเช่นเดียวกับการอยู่ในธรรมชาติ
8. จริงๆ แล้วตุ๊กตาสัตว์ยัดนุ่น (หรือ "สตั๊ฟฟี่" ที่ถูกเรียกอย่างรักใคร่ในกองถ่าย) ถูกสร้างขึ้นมาจริงๆโดยทีมสร้างภาพเทคนิคพิเศษสิ่งมีชีวิตที่ แอนิเมเต็ด เอ็กซ์ตร้าส์ ร้านเทคนิคพิเศษเจ้าของรางวัลออสการ์ที่เชปเพอร์ตัน สตูดิโอส์ เพื่ออ้างอิงตอนที่ต้องจัดวางฉาก และการปฏิสัมพันธ์กับนักแสดง การสร้างของพวกเขาต้องใช้ความใส่ใจมาก และจุดสนใจหลักก็พุ่งไปที่พุงของวินนี่ เดอะ พูห์ (เพื่อให้แน่ใจว่ามันอยู่ในจุดที่น่ากอด) การแสดงออกของทิกเกอร์ (เพื่อที่เขาจะได้แสดงความประหลาดใจ โกรธ และหลุดโลก) และอียอร์ (เพื่อให้แน่ใจว่าเขามีความยวบที่พอดี)
9. โรงพยาบาลหลวงเชลซีและทางเข้าอันทรงสง่า ถูกใช้แทนสำหรับเป็นภายนอกของโรงเรียนประจำของคริสโตเฟอร์ โรบิน โรงพยาบาลหลวงเชลซีคือสถานที่ซึ่งข้าราชการบำนาญ ทหารปลดประจำการแห่งกองทัพสหราชอาณาจักร อาศัยอยู่ ดังนั้น งานสร้างต้องใส่ใจเป็นพิเศษเพื่อให้ผู้ที่อยู่อาศัยสามารถกิจวัตรประจำวันได้อย่างปกติและไม่ถูกรบกวน การถ่ายทำใช้เวลาแค่ 1 วัน แต่ใช้เวลา 10 วันในการเตรียมตัว
10. นักแสดงประกอบกว่า 400 คนในเครื่องแต่งกาย การแต่งหน้า และทำผมในแบบย้อนยุค เพื่อใช้ในฉากที่เกิดขึ้นที่สถานีรถไฟลอนดอน (ที่วินนี่ เดอะ พูห์ ได้ลูกโป่งสีแดง) ฉากนี้ถ่ายทำที่ที่จอดเรือในท่าเรือโดเวอร์ ตรงบริเวณสุดท่าเรือที่ต่อยื่นออกไปในอ่าว 1,000 ฟุต สถานีรถไฟเดิมถูกปิดลงในปี 1994
พบการกลับมาของเพื่อนซี้ในวัยเด็กที่ทุกคนคิดถึง หมีพูห์และผองเพื่อนจะมาพร้อมกับหนังใหญ่ครั้งแรกของพวกเขาใน Disney's Christopher Robin เปิดรอบพิเศษ 2-8 สิงหาคมนี้ หลัง 2 ทุ่มเป็นต้นไป และฉายจริง 9 สิงหาคมนี้ในโรงภาพยนตร์
ตัวอย่างภาพยนตร์