ทำความรู้จักเทศกาลชมดอกไม้ไฟ ก่อนไปดู Fireworks ระหว่างเราและดอกไม้ไฟ

Movie News25 ธันวาคม 2560

ภาพยนตร์แอนิเมชั่นจากประเทศญี่ปุ่นที่หลายคนรอคอย "Fireworks" ผลงานจากสตูดิโอโตโฮ ที่หยิบยกเอางานต้นฉบับทีวีซีรีส์ที่เคยออกฉายในปี 93ของผู้กำกับ "ชุนจิ อิวาอิ" Love Letter (เลิฟ เลทเทอร์) , All About Lily Chou-Chou (ออล อะเบ้าท์ ลิลลี่ ชูชู)) มาดัดแปลงจนเกิดเป็นภาพยนตร์แอนิเมชั่นโรแมนติก-ดราม่าที่จะทำให้ผู้ชมหวนคิดถึงช่วงเวลาอันแสนหวานในวัยเด็กอีกครั้ง ผ่านฝีมือผู้อำนวยกาสร้าง "เกงกิ คาวามูระ" แห่งสตูดิโอ Shaft (แชฟท์) กำกับโดยสองยอดฝีมืออนิเมชั่นแถวหน้าของวงการ อย่าง "อากิยูกิ ชิมโบ" จาก Sangatsu no Lion ตราบวันฟ้าใส (ซันกัทสึ โนะ ไลอ้อน) และ "ทาเคอุจิ โนบุยูกิ" คีย์อนิเมเตอร์จาก Spirited Away (สปิริต อะเวย์)



"Fireworks" บอกเล่าเรื่องราวในวันหนึ่งของช่วงฤดูร้อน "โนริมิจิ" (มาซากิ ซูดะ) , "ยูสึเกะ" (มาโมรุ มิยาโนะ) และเพื่อนๆ ได้ถกเถียงกันว่า "ดอกไม้ไฟดูเป็นทรงกลมหรือทรงแบน ถ้ามองจากด้านข้าง" คำถามนี้เกิดขึ้นเมื่อ "นาซึนะ" (ซูสุ ฮิโรเสะ) ต้องเผชิญกับปัญหาทางบ้าน โนริมิจิ และยูสึเกะตัดสินใจว่ายน้ำแข่งขันโดยมีเดิมพันเป็นการเดทกับนาซึนะในคืนที่มีดอกไม้ไฟ นาซึนะจึงตัดสินใจหนีออกจากบ้านไปพร้อมกับผู้ชนะ นี่คือเรื่องราวระหว่างเด็กหนุ่มและหญิงสาวในคืนดอกไม้ไฟ และจุดเริ่มต้นของความรักที่เกิดจากปาฏิหาริย์แห่งกาลเวลาที่นำไปสู่ความสัมพันธ์ที่ก้าวผ่านคำว่าเพื่อน



      หากจะชมภาพยนตร์ให้ได้อรรถรสมากยิ่งขึ้นก็ควรจะต้องทำความรู้จักกับเทศกาลดอกไม้ไฟที่ญี่ปุ่นเอาไว้สักเล็กน้อย เทศกาลดอกไม้ไฟในญี่ปุ่นมักจะจัดขึ้นเป็นเวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง ณ ลานกว้างริมแม่น้ำหรือริมทะเล หากเป็นเทศกาลดอกไม้ไฟชื่อดังก็จะมีผู้เข้าชมมากถึงหลายแสนคน ภายในบริเวณจัดงานมักจะหนาแน่นไปด้วยฝูงชนจำนวนมาก จึงควรระวังไม่ให้พลัดหลงกัน และหากสวมชุดยูกาตะ (Yukata) ไปชมด้วยก็จะยิ่งได้บรรยากาศมากยิ่งขึ้น

ในเทศกาลดอกไม้ไฟหลายๆแห่ง เราสามารถนำเสื่อไปปูและนำของกินไปทานเล่นระหว่างชมดอกไม้ไฟได้ แต่เนื่องจากห้องน้ำมักจะเต็มไปด้วยคนจำนวนมาก จึงไม่ควรดื่มน้ำมากเกินไป แม้ว่างานเทศกาลดอกไม้ไฟโดยส่วนใหญ่มักจะไม่เก็บค่าเข้าชม แต่มีบางงานก็อาจมีการเก็บค่าเข้าชมและมีการกำหนดที่นั่งในการชมด้วยเช่นกัน



       ส่วนใหญ่มักจะไม่เก็บค่าเข้าชม แต่มีบางงานก็อาจมีการเก็บค่าเข้าชมและมีการกำหนดที่นั่งในการชมด้วยเช่นกัน

ประเภทของดอกไม้ไฟแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ด้วยกัน คือ “ชะคุดามะ (Shakudama)” คือ ดอกไม้ไฟที่จุดทีละนัด ได้แก่ แบบดอกเบญจมาศ/แบบดอกโบตั๋น/แบบต้นหลิว เป็นต้น ซึ่งชะคุดามะ (Shakudama) ยังสามารถที่แบ่งขนาดตามการแผ่กระจายวงของดอกไม้ไฟได้แก่


 

  • ชะคุดามะ (Shakudama) เมื่อจุดแล้วจะแผ่กระจายเป็นวงกว้างขนาด 280 เมตร
  • นิชะคุดามะ (Nishakudama) เมื่อจุดแล้วจะแผ่กระจายเป็นวงกว้างขนาด 500 เมตร
  • ยงชะคะดามะ (Yonshakudama) เมื่อจุดแล้วจะแผ่กระจายเป็นวงกว้างขนาด 750 เมตร

อีกประเภทคือ "ชิคะเคะฮานาบิ (Shikake Hanabi)" คือ ดอกไม้ไฟที่จุดเป็นชุด หลายนัด ได้แก่แบบพันล้อ/แบบจานบิน/แบบผีเสื้อ เป็นต้น เพื่อแสดงภาพดอกไม้ไฟเป็นตัวอักษร หรือเป็นรูปภาพ หรืออาจจุดเป็นดอกไม้ไฟแบบจรวด หรือแบบที่ฐานตรงกลางหมุนได้ สร้างความสนุกสนานและตื่นตาตื่นใจให้กับผู้ชม นอกจากนี้ยังมีดอกไม้ไฟชุดที่เรียกว่า "ไนแอการ่า (Niagara)" ซึ่งเป็นการจุดดอกไม้ไฟให้ตกลงมาเหมือน

ม่านน้ำตกขนานไปตามริมแม่น้ำ และชุด "สตาร์ไมน์ (Starmine)" ซึ่งเป็นการจุดดอกไม้ไฟจำนวนมากให้เข้ากับเสียงเพลงประกอบ เป็นต้น

เรื่องราวของความรักระหว่างเด็กหนุ่มและหญิงสาวในคืนดอกไม้ไฟจะลงเอยอย่างไร คงต้องไปติดตามใน "FFireworks ระหว่างเราและดอกไม้ไฟ" 28 ธันวาคมนี้ ในโรงภาพยนตร์