ทำความรู้จักโรค 'โจ๊กเกอร์' ที่มาของอาการหัวเราะทั้งๆ ที่ไม่ได้รู้สึกขำ

Movie News9 ตุลาคม 2562

HIGHLIGHTS

  • อาการหัวเราะทั้งๆ ที่ไม่ได้รู้สึกขำ หรือร้องไห้ออกมาทั้งที่ก็ไม่ได้เศร้า แบบนี้เรียกภาวะ PBA ซึ่งโรค PBA หรือ Pseudobulbar affect คือ ภาวะการแสดงอารมณ์ที่ควบคุมไม่ได้ โดยผู้ป่วยโรคนี้จะแสดงอาการได้ 2 แบบ คือ แบบร้องไห้ (Pathological crying) และแบบหัวเราะ (Pathological laughing)
     
  • การแสดงอารมณ์ไม่ว่าจะร้องไห้หรือหัวเราะจะเกิดขึ้นโดยฉับพลัน ไม่สามารถควบคุมได้ กล่าวคือผู้ป่วยจะห้ามไม่ให้ตัวเองหัวเราะหรือร้องไห้ไม่ได้ ทั้งที่ก็ไม่ได้รู้สึกเศร้าหรือรู้สึกขำอะไรเลยก็ตาม ภาวะนี้จึงส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก
     
  • ผู้ป่วย PBA ส่วนใหญ่จะเกิดจากความผิดปกติของการทำงานของสมองส่วนหน้าที่ทำให้ผู้ป่วยควบคุมการหัวเราะหรือร้องได้ไม่ได้ ซึ่งจะต่างจากโรคซึมเศร้าหรือไบโพลาร์ ที่เกิดจากสารเคมีในสมองเปลี่ยนไป
     
  • ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าหรือไบโพลาร์มักจะแสดงอารมณ์ได้ตรงกับที่รู้สึก คือ เศร้าก็ร้องไห้ สุขก็หัวเราะ และยังสามารถควบคุมการหัวเราะหรือร้องไห้ของตัวเองได้ ต่างจากผู้ป่วย PBA ที่ควบคุมอาการหัวเราะหรือร้องไห้ของตัวเองไม่ได้เลย

 

 


      ทำความรู้จักกับ "ภาวะควบคุมการหัวเราะไม่ได้" อาการป่วยของตัวร้ายชื่อดังในภาพยนตร์เรื่อง "Joker" จนกลายมาเป็นที่มาของเสียงหัวเราะทั้งๆ ที่ไม่ได้รู้สึกขำ

อาการหัวเราะทั้งๆ ที่ไม่ได้รู้สึกขำ หรือร้องไห้ออกมาทั้งที่ก็ไม่ได้เศร้า แบบนี้เรียกภาวะ PBA ซึ่งโรค PBA หรือ Pseudobulbar affect คือ ภาวะการแสดงอารมณ์ที่ควบคุมไม่ได้ โดยผู้ป่วยโรคนี้จะแสดงอาการได้ 2 แบบ คือ แบบร้องไห้ (Pathological crying) และแบบหัวเราะ (Pathological laughing)


 


      ทั้งนี้การแสดงอารมณ์ไม่ว่าจะร้องไห้หรือหัวเราะจะเกิดขึ้นโดยฉับพลัน ไม่สามารถควบคุมได้ กล่าวคือผู้ป่วยจะห้ามไม่ให้ตัวเองหัวเราะหรือร้องไห้ไม่ได้ ทั้งที่ก็ไม่ได้รู้สึกเศร้าหรือรู้สึกขำอะไรเลยก็ตาม ภาวะนี้จึงส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก

แม้อาการ PBA จะเหมือนผู้ป่วยที่มีอาการทางจิต แต่อย่างที่บอกว่า PBA ส่วนใหญ่จะเกิดจากความผิดปกติของการทำงานของสมองส่วนหน้า ที่ทำให้ผู้ป่วยควบคุมการหัวเราะหรือร้องได้ไม่ได้ ซึ่งจะต่างจากโรคซึมเศร้าหรือไบโพลาร์ ที่เกิดจากสารเคมีในสมองเปลี่ยนไป และผู้ป่วยโรคซึมเศร้าหรือไบโพลาร์มักจะแสดงอารมณ์ได้ตรงกับที่รู้สึก คือ เศร้าก็ร้องไห้ สุขก็หัวเราะ และยังสามารถควบคุมการหัวเราะหรือร้องไห้ของตัวเองได้ ต่างจากผู้ป่วย PBA ที่ควบคุมอาการหัวเราะหรือร้องไห้ของตัวเองไม่ได้เลย



พิสูจน์ศักยภาพทางการแสดงของ วาคีน ฟินิกซ์ กับการถ่ายทอดภาพลัษณ์ของ Joker คนล่าสุด ได้แล้ววันนี้ในโรงภาพยนตร์

 

เช็ครอบฉายคลิกเลย >>  https://bit.ly/2mPpXIe

 

ตัวอย่างภาพยนตร์